วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การฟังที่ดี

การฟังที่ดี    
ปัญหาความขัดแย้ง เป็นเรื่องธรรมดาในการอยู่ร่วมกันหรือคบค่าสมาคมกัน เพราะสังคมประกอบด้วยบุคคลหลาย ๆ รูปแบบ มาจากครอบครัวที่ต่างกัน มีพื้นฐานการเลี้ยงดูวัฒนธรรม ประเพณีการศึกษา การใช้ชีวิตตลอดจนนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปัญหาหรือความขัดแย้งต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นอยู่ได้ตลอดเวลา เราก็อาจจะเป็นคนหนึ่งในหลายคน ที่ต้องตกเป็นผู้รับฟังการระบายปัญหาหรือการเล่าถึงความขัดแย้งกับคนอื่น ๆ จากผู้ร่วมงานจากคนใกล้ชิด จากเพื่อนสนิทหรือผู้มารับบริการอยู่บ่อย ๆ บางครั้งเราอาจจะใช้ความเห็นส่วนตัว ดุลยพินิจที่เข้าข้างตัวเอง ตอบโต้ปัญหาหรือความคัดแย้งเหล่านั้น จนถึงขนาดก่อศัตรู หรือเพิ่มความหมาดหมาง เครียดแค้นให้ลุกลามมากขึ้นก็อาจเป็นได้ ดังนั้นการที่จะเป็นผู้รับฟังปัญหาที่ดีมีประสิทธิภาพได้นั้น ก็ต้องมีการเรียนรู้วิธีการรับฟังที่เหมาะสมคือ

“ทักษะการฟัง” ทักษะสำคัญในชีวิตการทำงาน

“ทักษะการฟัง” ทักษะสำคัญในชีวิตการทำงาน   

   ในการสื่อสารใด ๆ หรือการพูดคุยสนทนาระหว่างกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น “ทักษะการฟัง” เป็นสิ่งสำคัญมาก การเป็นนักฟังที่เข้าทำนอง “ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับมากระเดียด” ตามที่สุภาษิตไทยโบราณว่าไว้นั้น นอกจากจะนำมาซึ่งความผิดพลาดในการสื่อสารแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิด การทะเลาะเบาะแว้งไม่ลงรอยระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นชีวิตครอบครัวหรือชีวิตการทำงาน

   ทักษะการฟังเป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะการสื่อสารด้านอื่น ๆ เช่น ทักษะการพูด อ่าน เขียน ฯลฯ  ทักษะการฟังที่ดีนำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญของการทักษะการเข้าสังคม ลดความเข้าใจผิด ความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์กับคน นอกจากนี้การพัฒนาทักษะการฟังส่งผลต่อการพัฒนาในด้านสติปัญญา ในแง่ของการฝึกใช้ความคิด การจับประเด็น ฝึกความจำ และฝึกฝนการจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ